การรักษาความปลอดภัยในสถานการณ์ต่าง ๆ

การเฝ้าดูแลสถานที่

พนักงานรักษาความปลอดภัยจะต้องปฏิบัติหน้าที่ด้วยความระมัดระวังอยู่ตลอดเวลาห้ามมิให้บุคคลภายนอกซึ่งมิได้มีส่วนเกี่ยวข้องไปในบริเวณสถานที่ผู้ว่าจ้าง หรือผ่านเข้าไปในเขตหวงห้ามเว้นเสียแต่จะได้รับอนุญาตจากผู้ว่าจ้างเสียก่อนหากสงสัยไม่สามารถตัดสินใจได้ให้สอบถามจากทางผู้ว่าจ้างเสียก่อนหรืออาจสอบถามจากหัวหน้างานก่อนก็ได้

การปฏิบัติเมื่อเกิดเหตุอาชญากรรมหรือโจรกรรม

ถ้า ร.ป.ภ. พบว่าเกิดเหตุอาชญากรรมาหรือ โจรกรรมขึ้นภายในบริเวณสถานที่ของผู้ว่าจ้างจะต้องปฏิบัติดังนี้

  1. แจ้งเหตุให้เจ้าหน้าที่ตำรวจทราบโดยทันที
  2. แจ้งเหตุให้ผู้ว่าจ้างทราบ
  3. แจ้งเหตุให้ผู้บังคับบัญชา หรือหน่วยงาน องค์กร ต้นสังกัด ของตนทราบ
  4. ห้ามบุคคลภายนอกที่ไม่เกี่ยวข้อง เข้าไปในบริเวณที่เกิดเหตุโดยเด็ดขาด
  5. ห้ามแตะต้องเคลื่อนย้ายสิ่งของต่าง ๆ ในบริเวณที่เกิดเหตุ ก่อนที่เจ้าหน้าที่ตำรวจจะมา

การปฏิบัติ กรณีมีผู้มาบุกรุก

ถ้า ร.ป.ภ. ทราบหรือสงสัยว่ามีผู้บุกรุกเข้ามาในสถานที่ของผู้ว่าจ้างจะต้องแจ้งให้เจ้าหน้าที่ตำรวจทราบโดยเร็ว และอย่าให้ผู้บุกรุกรู้ตัว ร.ป.ภ.จะต้องเฝ้าดูไม่ให้ผู้บุกรุกคลาดสายตา และควรบันทึกรูปร่างลักษณะต่างๆ ของผู้บุกรุกไว้ด้วย เช่น เพศ ความสูง อายุ สีผิว สีผม ทรงผม ลักษณะใบหน้า หู ตา จมูก ปาก การแต่งกาย ท่าทางการเดิน สำเนียงการพูด หากนำยานพาหนะมาด้วย ให้บันทึกชนิดยานพาหนะ หมายเลขทะเบียนสีรถหรือตำหนิอื่น ๆไว้ด้วย

การจับกุมผู้บุกรุกควรกระทำเมื่อเจ้าหน้าที่ตำรวจมาถึงและเจ้าหน้าที่ตำรวจเป็นผู้จับกุมซึ่งจะทำได้ง่ายและปลอดภัยกว่าที่ ร.ป.ภ. จะดำเนินการจับกุมเอง

การปฏิบัติเมื่อเกิดเหตุเพลิงไหม้

  1. พนักงานรักษาความปลอดภัยต้องทำการดับเพลิงในทันทีที่พบเห็นเพลิงไหม้
  2. ถ้าไม่สามารถดับเพลิงได้พนักงานรักษาความปลอดภัยต้องแจ้งหัวหน้าหน่วยตามลำดับชั้นและแจ้งเจ้าหน้าที่ดับเพลิงหรือเจ้าหน้าที่ตำรวจโดยด่วน
  3. ป้องกันไม่ให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องเข้าไปในที่เกิดเหตุ
  4. บันทึกที่เกิดเหตุ ( วัน/และวัน เดือน ปี ) ไว้เป็นหลักฐาน